การประเมินภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์
ดร.มณีรัศมิ์ พัฒนสมบัติสุข
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
High risk pregnancy หมายถึง
การตั้งครรภ์ซึ่งทำให้มารดาและทารกในครรภ์มีอันตราย หรือมีโอกาสเสี่ยงตายสูงขึ้น
ทั้งในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด ตลอดจนการคลอดที่ผิดปกติและส่งผลต่อสุขภาพและความพิการของทารกในระยะต่อมาด้วย
เป้าหมายของการประเมินภาวะเสี่ยง
1. ลดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารก
2. ลดอัตราตายของมารดาและทารก
ปัจจัยเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่
ปัจจัยเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่
1. ปัจจัยเสี่ยงทางชีวภาพ เช่น อายุ
จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์และการคลอด ส่วนสูงของมารดา น้ำหนักของมารดา
2. ปัจจัยเสี่ยงทางสังคม เช่น ระดับการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ
ความเชื่อที่มีผลต่อสุขภาพ
3. ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพของมารดา เช่น โรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง ซีด ประวัติคลอดก่อนกำหนด ประวัติคลอดยาก ประวัติทารกตายในครรภ์
โดยทั่วไปแล้วเมื่อหญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ จะประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์คัดกรองเบื้องต้นในสมุดฝากครรภ์สีชมพู
โดยทั่วไปจะใช้เกณฑ์ประเมินภาวะเสี่ยงในสมุดฝากครรภ์สีชมพู ดังนี้
รายการความเสี่ยง
|
ไม่มี
|
มี
|
ประวัติอดีต
|
||
1.
เคยมีทารกตายในครรภ์หรือเสียชีวิตภายใน 1 เดือนแรกเกิด
|
||
2.
เคยแท้ง ³ 3
ครั้งติดต่อกัน
|
||
3.
เคยคลอดบุตร นน. <
2500 gm
หรือคลอดเมื่ออายุครรภ์ < 37 สัปดาห์
|
||
4.
เคยคลอดบุตร นน. >
4000 gm
|
||
5.
เคยเข้ารับการรักษาความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์หรือครรภ์เป็นพิษ
|
||
6.
เคยผ่าตัดคลอดหรือเคยผ่าตัดอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ เช่น เนื้องอกมดลูก ผูกปากมดลูก
|
รายการความเสี่ยง
|
ครั้งที่
1
|
ครั้งที่
1
|
ครั้งที่
1
|
ครั้งที่
1
|
ครั้งที่
1
|
|||||
ไม่มี
|
มี
|
ไม่มี
|
มี
|
ไม่มี
|
มี
|
ไม่มี
|
มี
|
ไม่มี
|
มี
|
|
ประวัติปัจจุบัน
|
||||||||||
7.
ครรภ์แฝด
|
||||||||||
8.
อายุ < 17
ปี (นับถึง EDC)
|
||||||||||
9.
อายุ ³ 35
ปี (นับถึง EDC)
|
||||||||||
10.
Rh
negative
|
||||||||||
11.
มีเลือดออกทางช่องคลอด
|
||||||||||
12.
มีก้อนในอุ้งเชิงกราน
|
||||||||||
13.
ความดัน Diastolic
³ 90 mmHg
|
||||||||||
14.
BMI
< 18.5 kg/m2
|
||||||||||
ประวัติทางอายุรกรรม
|
||||||||||
15.
โลหิตจาง
|
||||||||||
16.
เบาหวาน
|
||||||||||
17.
โรคไต
|
||||||||||
18.
โรคหัวใจ
|
||||||||||
19.
ติดยาเสพติด ติดสุรา สูบบุหรี่ คนใกล้ชิดสูบบุหรี่
|
||||||||||
20.
โรคทางอายุรกรรมอื่นๆ เช่น ไทรอยด์ SLE ฯลฯ
|
||||||||||
21.
อื่นๆ ระบุ......................................
|
หากพบความเสี่ยงในข้อใดข้อหนึ่ง
ให้ส่งต่อเพื่อได้รับการดูแลหรือประเมินเพิ่มเติมโดยสูติแพทย์
การประเมินภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
ความเสี่ยงน้อย
|
ความเสี่ยงปานกลาง
|
ความเสี่ยงมาก
|
-อายุ
< 17
ปี (นับถึง EDC)
-อายุ
³ 35
ปี (นับถึง EDC)
-น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์
< 45
kg
หรือ BMI <
19.8 kg/m2
-อ้วนหรือ
BMI
> 29 kg/m2
-ตั้งครรภ์
³ 3
ครั้ง
-เคยมีทารกตายในครรภ์หรือเสียชีวิตภายใน
1 เดือนแรกเกิด
-เคยคลอดบุตร
นน. <
2500 gm
-เคยคลอดบุตร
นน. >
4000 gm
-เคยเข้ารับการรักษาความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์
-เคยผ่าตัดคลอดบุตรหรือเคยผ่าตัดอวัยวะในระบบสืบพันธุ์
-ติดบุหรี่ สุรา ยาเสพติด -มีเลือดออกทางช่องคลอด
-ค่า
Hb
ต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก (ไตรมาสแรก < 11 g/dl, ไตรมาสที่สอง <
10.5 g/dl, ไตรมาสที่สาม < 11
g/dl)
-ขนาดมดลูกไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ (อายุครรภ์และขนาดมดลูกที่วัดเป็นเซนติเมตรแตกต่างกัน ³ 3) -น้ำหนักขึ้นน้อยกว่า 1 กก./เดือน -ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ ตั้งแต่อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ขึ้นไป -ตั้งครรภ์เกิน 40 สัปดาห์ |
-โรคทางอายุรกรรม
เช่น โลหิตจาง ไทรอยด์ SLE
ติดเชื้อ HIV เบาหวาน
-ป่วยทางจิต
-ความดัน
Diastolic
³ 90 mmHg
-มีก้อนในอุ้งเชิงกราน
-เคยแท้งติดต่อกัน
³ 3
ครั้ง
-มีประวัติคลอดก่อนกำหนด
-Rh negative
-ทารกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง/วัน เมื่ออายุครรภ์ ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ขึ้นไป |
-โรคหัวใจ
-โรคไต
-ครรภ์แฝด
|
แนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก
ในการฝากครรภ์ครั้งแรก ควรให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ ดังนี้
1. ตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณ
BMI
วัดความดันโลหิต
2. ซักประวัติทั่วไป ประวัติทางสูติกรรม และอื่นๆ
เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน
3.
ยืนยันการตั้งครรภ์ (ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจปัสสาวะ ตรวจภายใน)
4. คัดกรองภาวะเสี่ยงตามเกณฑ์ประเมินภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์
5. ตรวจครรภ์ ประเมินอายุครรภ์
(ประเมินอายุครรภ์เทียบกับความสูงของมดลูก
และเทียบกับกราฟความสูงของมดลูกในสมุดฝากครรภ์) ท่าของทารกในครรภ์
และฟังเสียงหัวใจทารก
6. การตรวจภายใน เพื่อตรวจหาความผิดปกติ
และการติดเชื้อในช่องคลอด
7. ให้คำปรึกษาก่อนตรวจเลือด
7. ให้คำปรึกษาก่อนตรวจเลือด
8. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
8.1)
การตรวจปัสสาวะ (Multiple
dipstick test) : Nitrite, Leucocyte, Proteinuria, Glucosuria และ UA
8.2) การตรวจเลือด CBC,
VDRL, HIV Ab, HBsAg, Blood group (ABO, Rh), คัดกรองธาลัสซีเมีย (OF,
DCIP)
9. หากประเมินแล้วพบความเสี่ยงหรือความผิดปกติ
ต้องส่งต่อหรือส่งพบแพทย์ทุกราย
10. ดูแลให้ได้รับ dT toxoid ตามเกณฑ์
11. ดูแลให้ได้รับวิตามินและยาบำรุงเลือดตามแผนการรักษา
12.
ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในขณะตั้งครรภ์และอาการที่ต้องมารพ.ก่อนวันนัดครั้งต่อไป
13. นัดฝากครรภ์ครั้งต่อไปตามเกณฑ์ แต่หากหญิงตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยงหรือมีภาวะผิดปกติ จะนัดฝากครรภ์เร็วกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ครั้งที่
|
ช่วงอายุครรภ์
|
1
|
£ 12 wks
|
2
|
16-20 wks
|
3
|
24-28 wks
|
4
|
30-34 wks
|
5
|
36-40 wks
|
แนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง
1.
อายุน้อยกว่า 17 ปี (นับถึง EDC)
-ประเมินภาวะเสี่ยงในเรื่องโลหิตจาง
ความดันโลหิตสูง การคลอดก่อนกำหนด
-ดูแลองค์รวมในเรื่องสภาพของจิตใจ สังคม
ครอบครัว และความพร้อมในการตั้งครรภ์-เลี้ยงดูบุตร ควรให้พบนักจิตวิทยาหรือผู้ที่ผ่านการอบรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นทุกราย
2.
อายุมากกว่า 35 ปี (นับถึง EDC)
-ประเมินอายุครรภ์ที่แน่นอน
และควรส่งพบแพทย์ก่อนอายุ 15 สัปดาห์ เพื่อให้คำปรึกษาเรื่องการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด
(Prenatal
diagnosis)
-ส่งพบแพทย์เมื่ออายุครรภ์
18-22 สป. และ 30-32 สป. เพื่อ ultrasound
-เฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตสูง
-คัดกรองเบาหวานเมื่ออายุครรภ์ 24-28
สัปดาห์
3.
น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่า 45 kg หรือ BMI < 19.8 g/m2
-ประเมินอายุครรภ์ที่แน่นอน
-ส่งพบแพทย์เมื่ออายุครรภ์
18-22 สป. และ 30-32 สป. เพื่อ ultrasound
-ประเมินขนาดมดลูกกับอายุครรภ์ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์
หาก size
< date
(หากแตกต่างกัน ³
3 ให้ส่งพบแพทย์ หากแตกต่างกัน £ 3
ให้แนะนำเรื่องของอาหาร การพักผ่อน การรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก และนัดมาฝากครรภ์ทุก
2-4 สัปดาห์เพื่อติดตามการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวหญิงตั้งครรภ์ การเจริญเติบโตและสุขภาพของทารกในครรภ์)
4.
อ้วน หรือ BMI
> 29 g/m2
-ประเมินอายุครรภ์ที่แน่นอน
-ส่งพบแพทย์เมื่ออายุครรภ์
18-22 สป. และ 37 สป. เพื่อ ultrasound
-คัดกรองเบาหวานเมื่ออายุครรภ์ 24-28
สัปดาห์
-แนะนำการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย
-น้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ควรขึ้น 5-9 กก. (ไม่ควรเกิน
1 กก./เดือน)
5.
มีเลือดออกทางช่องคลอด
-ส่งพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ
6.
เคยคลอดบุตรน้ำหนัก < 2,500 gms
-ซักประวัติเพิ่มเติมถึงอายุครรภ์ที่คลอด
และภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์
-ประเมินอายุครรภ์ที่แน่นอน
-ประเมินขนาดของมดลูกกับอายุครรภ์ทุกครั้ง หากพบว่าไม่สัมพันธ์กัน
ให้ส่งพบแพทย์
-แนะนำการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก
7. เคยคลอดบุตรน้ำหนัก >
4,000 gms
-ประเมินอายุครรภ์ที่แน่นอน
-คัดกรองเบาหวาน
-ประเมินขนาดของมดลูกกับอายุครรภ์ทุกครั้ง หากพบว่าไม่สัมพันธ์กัน
ให้ส่งพบแพทย์
-แนะนำการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย
8.
มีประวัติทารกตายในครรภ์หรือเสียชีวิตภายใน 1 เดือนแรกเกิด
-ซักประวัติเพิ่มเติมถึงสาเหตุการเสียชีวิตของทารก
และอายุครรภ์ที่ทารกเสียชีวิต
-คัดกรองเบาหวาน
9.
เคยมีประวัติความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์
-วัดความดันโลหิตแล้วพบว่า ³ 130/90 mmHg ให้หญิงตั้งครรภ์นั่งพักแล้ววัดซ้ำ หาก ³ 140/90 mmHg ส่งพบแพทย์ หาก £ 130/90
mmHg แนะนำการพักผ่อน การสังเกตอาการผิดปกติ
-ตรวจปัสสาวะดูโปรตีนและน้ำตาลทุกครั้ง
หาก albumin
> 1+ ส่งพบแพทย์
10.
เคยผ่าตัดคลอด
-ประเมินอายุครรภ์ที่แน่นอน
-ส่งพบแพทย์เมื่ออายุครรภ์ 34-36 สัปดาห์
เพื่อนัดผ่าตัดคลอด
11.
การใช้สารเสพติด ติดสุรา บุหรี่
-ประเมินอายุครรภ์ที่แน่นอน
-ประเมินขนาดของมดลูกกับอายุครรภ์ทุกครั้ง หากพบว่าไม่สัมพันธ์กัน
ให้ส่งพบแพทย์
-เฝ้าระวังการคลอดก่อนกำหนด
12.
ค่า Hb ต่ำกว่าเกณฑ์ (ไตรมาสแรก < 11 g/dl, ไตรมาสที่สอง < 10.5
g/dl, ไตรมาสที่สาม < 11 g/dl)
-ซักประวัติเพื่อหาสาเหตุ
ถ้าผล Hb < 10 g/dl ส่งพบแพทย์ ถ้า Hb 10.0-10.9 g/dl นัดฝากครรภ์ตามปกติ
แต่ให้ยาบำรุงเลือดเพิ่มขึ้น
-นัดตรวจ CBC 1 เดือน
13.
มีประวัติโรคอายุรกรรมอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ โรคไต ไทรอยด์ SLE ฯลฯ และป่วยทางจิต
-ประเมินอาการและส่งพบแพทย์ทุกราย
ขอบคุณค่ะ
ตอบลบขอบคุณค่ะอ.
ตอบลบขอบคุณค่ะ
ตอบลบขอบคุณค่ะ อ.
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะ อาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะ อาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะ อาจารย์
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบขอบคุณค่ะอ.
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบขอบคุณครับอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะ
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะ อาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบ><
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณครับอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์ อ่านเข้าใจง่ายดีค่ะ
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์^^
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณมากค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณคะ
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบขอบคุณครับอาจารย์
ตอบลบขอบคุณค่ะอาจารย์
ตอบลบ